เมนู

นั้นนั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีจิตคลอนแคลน. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะ
ทั้งหลาย จึงกล่าวคำว่า อถฺโข ตา ภิกฺขุนิโย ฯเปฯ นิสีทึสุ ดังนี้
บทว่า ติรจฺฉานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีมากอย่าง มี
ราชกถาเป็นต้นอันเป็นการขัดขวางแม้ในการไปสู่ทางสวรรค์.
บทว่า อิทฺโร แปลว่า สำเร็จแล้ว. อธิบายว่า มีประโยชน์ลึกซึ้ง
มีรสมาก ประกอบด้วยลักษณปฏิเวธ.
ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เพราะภิกษุ
ฉัพพัคคีย์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธออย่ากล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย ดังนี้ จะพึงผูกอาฆาตในพระตถาคตเจ้า
แล้ว เป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเป็นผู้ยังไม่เห็นสัจจะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงหลีกเลี่ยงความเป็นผู้เข้าถึงอบายนั้นแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น
ทรงประสงค์จะกัน ภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ไว้ภายนอกจากการกล่าวสอนภิกษุณี
โดยอุบายอย่างอื่นนั่นเอง จึงทรงอนุญาตภิกขุโนวาทสมมตินี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต (ภิกขุโนวาทสมมติ) เพราะมีพระ-
ประสงค์จะกันภิกษุเหล่านั้น ไว้ภายนอกในสิกขาบทนี้อย่างนี้ เมื่อจะทรงทำต่อไป
ข้างหน้า จึงตรัสดำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อฏฺฐหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ
เป็นต้น . จริงอยู่ องค์ 8 เหล่านี้ ยังไม่เคยมีแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แม้แต่
ความฝันแล.

[อธิบายองค์ 8 ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี]


บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในบทว่า สีลวา นั้นว่า ศีลของภิกษุนั้น
มีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าผู้มีศีล. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
แสดงศีลที่มีอยู่ และประการที่ศีลนั้นมีแก่ภิกษุนั้นอย่างไรจึงชื่อว่ามีอยู่ จึงได้
ตรัสคำว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต เป็นต้น.

ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ สังวร คือ ปาฎิโมกข์ชื่อว่าปาฎิโมกขสังวร.
ภิกษุผู้สำรวม คือประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า
ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร.
บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นไป. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัส ไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า ปาฏิโมกข์ ได้แก่ ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้น
เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน
เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วง
ละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา.
บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เช้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบ
แล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วย
ปาฏิโมกขสังวร. บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่
รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง
เรียกว่า อยู่*.
บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน มีความว่า ละอโคจรมีหญิงแพศยา
เป็นต้น ด้วยอาจาระที่ป้องกันมิจฉาชีพ มีการไม่ให้ไม้ไผ่เป็นต้น แล้วถึง
พร้อมด้วยโคจร มีสกุลที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร.
คำว่า อนุมตฺเตสุ วชฺเชส ภยทสฺสาวี ได้แก่ ผู้มีปรกติเห็นภัย
ในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย มีคำอธิบายว่า มีปรกติเห็นโทษเหล่านั้น
โดยความเป็นภัย.
* อภิ. วิ. 35/331.

คำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ มีความว่า บรรดาสิกขาบท
ที่จัดเป็น 3 อย่าง โดยความเป็นอธิศีลสิกขาเป็นต้น สมาทานถือเอาโดยชอบ
ได้แก่ รับเอาโดยดี ศึกษาไม่ละทิ้งสิกขาบทนั้น ๆ. นี้ความสังเขปในคำว่า
อาจารโคจรสมฺปนฺโน นี้. ส่วนผู้ต้องการความพิสดารพึงถือเอาในอรรถกถา
มัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี ในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรณ์ ชื่อสันโมหวิโนทนี
หรือว่า จากวิสุทธิมัคคปกรณ์.
สุตะของภิกษุนั้นมาก; เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า พหุสสุตะ. ภิกษุใด
จำทรงสุตะไว้ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สุตธระ. อธิบายว่า คำที่ภิกษุ
นั้นได้ฟัง ชื่อว่า พหุสสุตะ, สุตะนั้นไม่ใช่แต่สักว่าฟังอย่างเดียว โดยที่แท้
ย่อมทรงสุตะนั้นด้วย. สุตะสั่งสมในภิกษุนั้น ดุจรัตนะที่เก็บไว้ในหีบ เหตุนั้น
ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า มีการสั่งสมสุตะ. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงความไม่เสื่อมสูญไปแม้โดยกาลนาน แห่งสุตะที่ภิกษุนั้นทรงไว้ ดุจรัตนะ
ที่เก็บรักษาไว้ในหีบ ฉะนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสุตะนั้นโดยสรูป จึงตรัส
คำว่า เย เต ธมฺมา เป็นต้น. คำนั้น มีนัยดังกล่าวแล้ว ในเวรัญชกัณฑ์
นั่นแล แต่นี้เป็นคำตรัสย้ำในสิกขาบทนี้. ธรรมเห็นปานนั้น เป็นอันภิกษุ
นั้นสดับแล้วมาก เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า พหุสสุตะ ธรรมเหล่านั้น
อันภิกษุนั้น ทรงจำไว้ได้ เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า สุตธระ ธรรมเหล่านั้น
อันภิกษุนั้นสั่งสมไว้ด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ
เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สุตสันนิจยะ.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วจสา ปริจิตา ได้แก่ อันภิกษุ
นั้นกระทำให้คล่องปาก.

บทว่า มนสานุเปกฺขิตา มีความว่า อันภิกษุเพ่งด้วยใจแล้ว ย่อม
เป็นดุจสว่างไสวด้วยแสงประทีปพันดวงแก่เธอผู้ใคร่ครวญ.
สองบทว่า ทิฏฺฐิยา สุปฺปฏิวิทฺธา มีความว่า ธรรมทั้งหลายย่อม
เป็นอันภิกษุนั้นแทงตลอดแล้วด้วยดี คือ กระทำให้ประจักษ์ชัดแล้วด้วยปัญญา
โดยอรรถและโดยการณ์.

[ว่าด้วยภิกษุพหูสูต 3 จำพวก]


ก็ภิกษุผู้ชื่อว่า พหุสสุตะนี้ มี 3 จำพวก คือ นิสัยมุจจนกะ ผู้พอ
พ้นนิสัย 1 ปริสูปัฎฐาปกะ ผู้ให้บริษัทอุปัฏฐาก 1 ภิกขุโนวาทกะ ผู้สั่งสอน
ภิกษุณี 1. บรรดาพหุสสุตะทั้ง 3 นั้น ภิกษุผู้นิสัยมุจจนกะมีพรรษา 5 โดย
อุปสมบท พึงท่องมาติกา* 2 ให้ช่ำชอง คล่องปาก โดยกำหนดอย่างต่ำกว่า
เขาทั้งหมด, พึงเรียนภาณวาร 4 จากสุตตันตปิฏก เพื่อประโยชน์แก่ธรรม-
สวนะในวันปักษ์ทั้งหลาย, พึงเรียนกถามรรคอันหนึ่ง เช่นกับอันธกวินทสูตร
มหาราหุโลวาทสูตร อัมพัฎฐสูตร เพื่อประโยชน์แก่การกล่าวธรรมเบ็ดเตล็ด
แก่เหล่าชนผู้มาหา, พึงเรียนคาถาอนุโมทนา 3 อย่าง เพื่อประโยชน์อนุโนทนา
ในสังฆภัตงานมงคลและอวมงคล, พึงเรียนวินิจฉัยกรรมและมิใช่กรรม เพื่อ
อุโบสถและปวารณาเป็นต้น พึงเรียนกรรมฐานอย่างหนึ่ง มีพระอรหัตเป็น
ที่สุด ด้วยสามารถแห่งสมาธิก็ดี ด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาก็ดี เพื่อกระทำ
สมณธรรม, พึงเรียน (พุทธพจน์มีพระสูตร 4 ภาณวารเป็นต้น ) เพียงเท่านี้
แท้จริง ด้วยการเรียนเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ย่อมชื่อว่า เป็นพหุสสุตะ เป็นผู้
ปรากฏในทิศ 4 ย่อมได้เพื่อยู่โดยความเป็นอิสระของตนในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.
* สารัตถทีปนี 3/292 แก้ว่า มาติกา 2 ได้แก่ภิกขุมาติกา และ ภิกขุนีมาติกา. -ผู้ชำระ.